พ่อแม่ควรสอนลูกเรื่องเงินอย่างไร

พ่อแม่ควรสอนลูกเรื่องเงินอย่างไร

อาหารสมอง
วีรกร ตรีเศศ
มติชนรายสัปดาห์
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550
ปีที่ 27 ฉบับที่ 1378

วันนี้ขอนำอีกบทของ "รู้จักใช้ เข้าใจเงิน" หนังสือที่ธนาคารไทยพาณิชย์จัดทำขึ้นเพื่อเป็น
วิทยาทานในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งธนาคารในปี 2550 ผู้เขียนคือ
อาจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ
ใครที่อยากได้ขอให้ติดต่อธนาคารไทยพาณิชย์ ครับ ส่วนหนึ่งของบทสำหรับพ่อแม่โดยเฉพาะมีดังนี้ "พ่อและแม่เป็นผู้ร่วมกันนำลูกมาสู่ โลก ดังนั้นความรับผิดชอบในชีวิตของลูกจึงตกอยู่ทั้งพ่อและแม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ชีวิตของลูกจะเป็นไปอย่างไร พ่อและแม่เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุด พ่อแม่ไม่อาจผลักภาระและความรับผิดชอบ ในการอบรมบ่มเพาะลูก ให้แก่ครู พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก และจะเป็นครูที่สำคัญที่สุดของลูกเสมอ การอบรมสั่งสอนลูกระหว่างวัยแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการเข้าใจ โลกของลูก" การสอนลูกให้เข้าใจเรื่องเงินอย่างถ่องแท้ ตลอดจนการเข้าใจกลไกในการสร้างอนาคตที่ มั่นคงให้ลูก จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องดิ้นรนขวนขวายเรียนรู้อย่างจริงจังและรวดเร็วเพื่อให้ ทันกับการเติบโตของลูก

มีเรื่องเล่ามานานแล้วในสหรัฐอเมริกา ว่าเมื่อ จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีผู้พ่อเข้าไป พักในโรงแรม เขาขอห้องพักราคาถูกที่สุด ผู้จัดการโรงแรมก็ถามว่า
ทำไมเล่า เวลาลูกท่าน มาพักที่นี่ยังขอห้องดีที่สุดเลย
เขาตอบว่ามันต่างกัน เขาเป็นลูกมหาเศรษฐี ส่วนฉันเป็นลูกชาวนา

เรื่องเล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการมองโลกของพ่อและลูกผู้เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้เข้า ลักษณะเดียวกันกับคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยในสังคม ไทยปัจจุบัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็น อย่างยิ่ง ที่จะต้องสอนลูกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง เงิน ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเรื่อง ของบริโภคนิยมและการไม่ใส่ใจในจริยธรรมคุณธรรมซึ่งแตกต่างไปจากยุคของพ่อแม่

การสอนเรื่องการเงินให้แก่ลูกมีหลายประเด็นที่ ควรพิจารณาดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนอยากได้ทุกอย่างที่
เห็นในโทรทัศน์จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอธิบาย และสอนให้ลูกเข้าใจว่า ไม่มีใครที่ได้
หรือมีทุกอย่างในโลก ทุกคนมีเงินจำกัด ที่ต้องจ่ายในสิ่งต่างๆ มากมายด้วยกันทั้งนั้น
ดังนั้น จึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่คิดว่าจำเป็นและให้คุณค่า การโฆษณาทางโทรทัศน์ถือว่า
เป็นการให้ข้อมูลของสินค้า ที่ผู้ซื้อต้องใคร่ครวญให้ดี เพราะผู้ขายเป็นผู้ให้ข้อมูล
และมีวัตถุประสงค์ในการชักชวนให้ซื้อสินค้านั้นการทำงานหาเงินอย่างหนักจนมีเงินมาก
นับเป็นของดี แต่การมุ่งหาเงินอย่างปราศจากคุณ ค่า (value) ที่เหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เช่น หาเงินด้วยความเจ้าเล่ห์เจ้ากล บ้าคลั่งบริโภคนิยม
บูชาเงินเป็นพระเจ้า สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่ดี

พ่อแม่จะต้องพยายามสร้างคุณค่าที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความสมถะ
ความศรัทธาในความดีงาม ใส่เข้าไปในสมองลูกด้วยการกระทำสิ่งต่อไปนี้
พ่อแม่ควรทำตนเป็นตัวอย่างโดยแสดงให้เห็น
พฤติกรรมที่มีความสมดุลในการใช้จ่ายเงิน

สำหรับสิ่งที่จำเป็น (needs) และสำหรับสิ่งที่ต้องการเพื่อช่วยให้เกิดความสะดวก
สบายใน ชีวิต (wants) เช่น ไม่บ้าคลั่งซื้อของต่างๆ อย่างไร้สาระจนทำให้ลูก
สับสน หรือมองเห็นว่า ทุกสิ่งเป็นสิ่งจำเป็นไปหมด นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้
ลูกคิดเป็น และมีวิจารณญาณว่าอะไร เป็น needs อะไรเป็น wants โดยเริ่มสอนไปทีละน้อย ให้เงินลูกเป็นรายอาทิตย์ หรือรายเดือนตั้งแต่ยังเล็กเมื่อเริ่มใช้เงินเป็น เพื่อสอนให้ลูกรู้จัก
วางแผนการใช้เงิน และรู้จักอยู่กินไม่เกินรายได้ที่ตนเองได้รับ เงินที่ให้นี้บอกลูกให้ชัดเจนว่าเป็นเงินสำหรับสิ่งใด เช่น กินขนม ดูหนัง ซื้อหนังสืออ่านเล่น ซื้อซีดี หรืออะไรอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งของบางอย่าง เช่น เสื้อผ้า หนังสือเรียน รองเท้า นาฬิกา นั้น

พ่อแม่จะจัดหาให้การกำหนดชัดเจนเช่นนี้จะช่วยทำให้ลูกสามารถจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการให้การสอนลูกในยามเป็นเด็กที่ใจเปิดรับ
จะทำให้เกิดความคิดในการช่วยเหลือคนอื่น
ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรืองานอาสาสมัคร
พ่อแม่อาจจัดหากระป๋องออมสิน 2 ใบ แต่ละใบใช้ใส่เงินสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ
เช่น ใบหนึ่งสำหรับการออม
และอีกใบสำหรับการบริจาค

การแบ่งเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเห็นการออมและการให้ที่
ชัดเจนและช่วยให้จัดการเรื่องการเงินได้สะดวกขึ้น
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกมีอำนาจเหนือเงิน (power over money) กล่าวคือ
ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น สามารถบังคับความต้องการของตนเองได้ จนไม่เป็นทาส
ของบริโภคนิยมที่เห็นอะไรก็อยากซื้อไปหมด ซึ่งจะทำให้ตลอดชีวิตมีแต่การหา
เงินมาใช้จ่ายอย่างไร้สาระ
พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องคุณค่าของการออม และการมีความมั่นคงในด้านการเงินตลอดชีวิต
การออมจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ ก็เพราะลูกมีความสามารถที่จะให้ตนมี
อำนาจเหนือเงินเท่านั้น การออมอุปมาเหมือนกับปริมาณน้ำในถังที่เพิ่มขึ้นหรือลด
ลงได้ ขึ้นอยู่กับการไหลเข้า(รายได้) และการไหลออกของน้ำ (รายจ่าย)

ถ้าในช่วงเวลาหนึ่งน้ำไหลเข้ามากกว่าไหลออกปริมาณน้ำในถัง (การออม) ก็จะเพิ่มขึ้น การมีอำนาจเหนือเงิน จะทำให้การไหลออกของน้ำเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล น้ำไม่ไหลออกมากเกินไปอย่างขาดระเบียบ และถ้ามีน้ำไหลเข้า

ถึงในปริมาณพอควรอย่างต่อเนื่องแล้ว ปริมาณน้ำในถังหรือการออมอาจเพิ่มขึ้น
อย่างสม่ำเสมอได้ พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน โดยแสดงให้เห็นว่า
เงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย (พ่อแม่ประหยัดพลังงานให้ดูเป็นตัวอย่าง)
ไม่ดูถูกเงินไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียงใด

ลูกต้องรู้ว่าเงินได้มาจากการทำงานซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน เงินไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรืออยู่ๆ ก็มีใครให้ ทุกคนต้องใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองเข้าแลกจึงจะมีเงิน สิ่งที่จะทำให้ได้เงินมากกว่า ถึงแม้จะออกแรงทำงานเท่ากันก็คือการศึกษา

สิ่งที่ต้องห้ามสำหรับพ่อแม่คือ การพูดจาชี้แนะแต่ยังเยาว์วัยว่าปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่มีมรดกไว้ให้ถึงไม่ทำงานก็ไม่ลำบาก การพูดเช่นนี้ให้ทัศนคติในการดำเนิน
ชีวิตที่ผิดแก่ลูกและบั่นทอนศักยภาพของลูก ในการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างสำคัญ
Newer Post Older Post Home