มองโลกขำ-ขำ (มองโลกในแง่ดี)

มองโลกขำ-ขำ (มองโลกในแง่ดี)
"หนุ่มเมืองจันท์"

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ปีที่ 26 ฉบับที่ 1331


ตอนไปเมืองจันท์ช่วงปีใหม่ ขณะที่นั่งรถขึ้นเนินตรงอำเภอโป่งน้ำร้อน มีรถบัสโดยสารจากเมืองจันท์ไปโป่งน้ำร้อนวิ่งนำหน้าอยู่
รถแบบนี้คนต่างจังหวัดเรียกว่า "รถส้ม" ตามสีของรถ
"รถส้ม" เป็นรถโดยสารธรรมดา ไม่ปรับอากาศ
ที่ทำให้ผมยิ้ม คือ ป้ายด้านหลังรถ
ตามปกติถ้าเป็นรถทัวร์หรือรถแอร์ เขาจะเขียนป้ายด้านหลังว่า
"รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง"
แต่ "รถส้ม" คันข้างหน้าแม้จะเป็นรถธรรมดา
แต่ก็เขียนป้ายเลียนแบบ "รถทัวร์"
เขาเขียนว่าอะไรรู้ไหมครับ...
"รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง"


ยกระดับสินค้า แต่ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงถ้าเป็น "สินค้า"
ก็ต้องบอกว่าพยายามหา "จุดขาย" ที่แตกต่างเหมือน
สมัยก่อนที่ถนนประชานิเวศน์ 1
หน้า "มติชน" มีร้านอาหารร้านหนึ่งเปิดขาย "หมูย่างเกาหลี"
ร้านขายข้าวต้มที่อยู่ตรงข้ามก็แขวนป้ายสินค้าใหม่ขึ้นมาสู้ทันที
"หมูย่างเกาหลีเหนือ"คล้ายๆ แต่ไม่เหมือน
ที่สำคัญเป็นการประกาศความเป็น "คู่แข่ง"
อย่างเปิดเผยโดยมีเกาะกลางถนนเป็นเส้นขนานที่ 38
"รถส้ม" คันนี้ก็เหมือนกัน เมื่อรถทัวร์เป็นรถปรับอากาศชั้นหนึ่ง
ปรับอากาศร้อนให้เป็นอากาศเย็นแต่เปิดหน้าต่างระบายอากาศไม่ได้


"รถส้ม" ก็เสนอ "จุดขาย" ที่แตกต่างเมื่อปรับอากาศให้เย็นขึ้นไม่ได้
แต่ก็ระบายอากาศได้ดีกว่าเป็นที่มาของคำว่า "รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง"
ถือเป็นกลยุทธ์การล้อเลียนที่เรียกอารมณ์ขัน
จากคนที่ขับรถตามหลังได้เป็นอย่างดีช่างคิดจริงๆอีกคันหนึ่ง
ผมเจอตรงไฟแดงสี่แยกทางเข้า "มติชน"
เคยเห็นรถของทางราชการที่ใช้สีพ่น หรือ
ติดสติ๊กเกอร์ประโยคนี้ไว้ที่ตัวถังรถไหมครับ


"ใช้ในราชการเท่านั้น"คงเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ข้าราชการ
นำรถไปใช้ส่วนตัวเขาคงคิดแบบเดียวกับการติดป้าย
"ข้ามถนนตรงทางม้าลาย" หรือ "ห้ามทิ้งขยะ"ติดป้ายแล้ว
ทุกคนจะทำตามแต่เขาลืมไปว่าแม้จะพ่นสี "ใช้ในราชการเท่านั้น"
ที่ตัวถัวรถแล้ว
แต่ใครจะไปรู้ได้ว่าคนขับรถคันนี้กำลัง "ใช้ในราชการ" หรือเปล่า


เอ๊ะ หรือเขาคิดว่าคนขับรถเห็นประโยคนี้แล้วจะกลัวคงคิดคล้ายๆ
คนที่เขียนตรงหน้าแรกของหนังสือว่า "หนังสือเล่มนี้เป็นสมบัติของ..."
แล้วเติมชื่อตัวเองต่อท้ายเป็นการเขียนเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นขโมยไป
เพราะถ้ามีใครเปิดอ่านก็จะพบชื่อเจ้าของตัวจริง
เฮ้อ...แต่เขาลืมไปว่า


แค่ใช้คัตเตอร์กรีดหน้าแรกออกสิทธิการเป็นเจ้าของก็หายไปทันที
รถคันที่ผมเจอไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์ "ใช้ในราชการเท่านั้น"
แต่เป็น "ใช้หนีราชการเท่านั้น"
คือ ถ้าเป็นงานในหน้าที่จะไม่มีทางใช้รถคันนี้
รถคันนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อเป็นงานนอกหน้าที่


แฮ่ม...แต่ต้องอยู่ในเวลาราชการไม่เช่นนั้นจะผิดวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้
ใช้ "หนีราชการ" เท่านั้น
อีกคันหนึ่งครับ เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่
ผมเจอตรงทางแยกเข้าลำลูกกา
คาดว่าคนขับคงจะผิดหวังกับการซื้อลอตเตอรี่เป็นประจำ
และค้นพบสัจธรรมของการซื้อหวย
ป้ายด้านหลังรถของเขาเขียนชัด
"อโรคยา ปรมา ลาภาคนไม่มีลาภ ซื้อหวยอย่างไรก็ไม่ถูก"
อ่านปั๊บหัวเราะก๊ากเลย
จริงยิ่งกว่าจริงเสียอีกเรื่องการซื้อลอตเตอรี่เป็นเรื่องของโชคล้วนๆ
ไม่มีอื่นปนครั้งหนึ่งผมไปนั่งกินข้าว
เจอคนซื้อหวยที่แผงยืนถกกันอย่างจริงจัง
คนแรกบอกว่าพระอาจารย์ที่วัดให้เลขเด็ดมา
แล้วทำท่ากระซิบ"54 ห้ามกลับ ห้ามลบ ห้ามบวก"
แม้จะทำท่ากระซิบ แต่ผมที่นั่งอยู่ห่างประมาณ 10 เมตร
ได้ยินชัดเจนเลยครับคนที่ล้อมรอบตัวเจ้าของเสียงทำท่าตื่นเต้น


"ให้เลขชัดขนาดนั้นเลยเหรอ"คนที่บอกเลขเด็ดพยักหน้ามั่นใจ
แล้วบรรยายสรรพคุณความแม่นของพระอาจารย์
จากนั้นก็ถึงตอนแลกเปลี่ยนกันดูเหมือนว่า
ทุกคนจะเชื่อว่าการซื้อหวยเป็นเรื่องไสยศาสตร์
ต้องมีคนรู้ล่วงหน้าว่าเลขท้ายที่ออกเป็นเลขอะไร
ไม่มีใครคิดอีกมุมหนึ่งเลยว่าเลขท้ายที่ออกมานั้น
เกิดจากกลไกของระบบของการออกรางวัล
ที่กองสลากฯ พยายามประชาสัมพันธ์ให้มั่นใจว่าไม่มีใครล็อคได้
แต่เซียนหวยทั้งหลายก็ยังเชื่อว่าพระอาจารย์ของเขารู้ล่วงหน้าได้
ไม่มีหลักวิทยาศาสตร์ หรือคำอธิบายเรื่องความน่าจะเป็น
จะทำให้เขา "เชื่อ" ได้เลย
มันเป็นเรื่อง "ความเชื่อ" ล้วนๆ
จนเมื่อผลออกมาไม่ตรงกับเลขเด็ดของพระอาจารย์
เขาจึงค้นพบสัจธรรม
"อโรคยา ปรมา ลาภาคนไม่มีลาภ ซื้อหวยอย่างไรก็ไม่ถูก"
คนขับรถส้ม
คนขับรถหนีราชการ
และคนขับรถบรรทุกที่ชอบซื้อหวย
แต่ละคนคงเป็นคนมองโลกในแง่ดี
คนขับรถส้มเวลาเห็นคนขับรถปรับอากาศ
แทนที่จะรู้สึกว่าคนอื่นโชคดี
แต่ตัวเราโชคร้ายเขากลับคิดเรื่องนี้ในมุมล้อเลียนและมีอารมณ์ขัน


เมื่อเป็น "รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง"
ไม่ได้ก็ขอเป็น "รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง"
ก็แล้วกันป้าย "รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง-ใช้หนีราชการเท่านั้น"
หรือ "อโรคยา ปรมา ลาภา คนไม่มีโชคซื้อหวยอย่างไรก็ไม่ถูก"
ล้วนเกิดขึ้นเพื่อให้คนที่อ่านแล้วยิ้มหรือหัวเราะ
เป็นการเผื่อแผ่ "อารมณ์ดี"
ให้กับคนบนท้องถนน
ผมนึกถึงประโยคหนึ่งของ "จอห์น เมเจอร์" อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
"คนมองโลกในแง่ดี เขาจะหัวเราะเพื่อจะลืม
แต่คนมองโลกในแง่ร้าย เขาจะลืมที่จะหัวเราะ"ครับ
เสียงหัวเราะหรืออารมณ์ขัน คือ ยาชั้นดีของคนที่มี "ความทุกข์"
บางทีที่เราทุกข์เพราะเราคิดวน คิดเวียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นปัญหานิดเดียว
แต่คิดถึงบ่อยๆ มันก็เพิ่มขนาดขึ้นเสียงหัวเราะ หรืออารมณ์ขัน
ทำให้เราเลิกคิดถึงปัญหาไปชั่วขณะ
หรือทำให้มองปัญหาในอีกมุมหนึ่งหัวเราะเล่นกับปัญหาบ้าง
มองแบบขำ-ขำ

ไม่ได้จริงจังกับมันมากไป
มองโลกในแง่ดีเหมือนคนขับรถส้ม หรือคนขับรถบรรทุก
หัวเราะให้ลืมไม่ใช่ลืมแม้แต่กระทั่งหัวเราะ
อย่าลืมนะครับ ให้ถือคตินี้เป็นประจำ
"อโรคยา ปรมา ฮาฮาเสียงหัวเราะ เป็นลาภอันประเสริฐ"