ประวัติท่านนายกอภิสิทธิ์
มาร์ค,โอบามาร์ค
ชื่อจริง : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ชื่อในวงการ : มาร์ค,โอบามาร์ค
ชื่อเล่น : มาร์ค
ส่วนสูง : - ซม.
น้ำหนัก : - กก.
เพศ : ชาย
เกิดวันที่ : 03 ส.ค. 2507
--------------------------------------------------------------------------------
การศึกษา
ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟและเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจาก พระยาศรีวิศาลวาจา
--------------------------------------------------------------------------------
ผลงาน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับตำแหน่งในขณะที่มีอายุเพียง 44 ปี
แก้ไขปัญหาความไม่สงบในช่วงสงกรานต์
นายกรัฐมนตรี เดินทางไปแถลงถึงกรณีตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงในเขตกทม. และปริมณฑล ที่กระทรวงมหาดไทย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวหาผ่านทางวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้สั่งให้ทำการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 และยังกล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องมนตรีว่ามีส่วนรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหารขึ้นเพื่อรับรองให้อภิสิทธิ์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหา กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงจำนวน 100 คนจาก 1,000 คนในกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนเมษายนมีความต้องการให้อภิสิทธิ์ลาออกจาก นายกรัฐมนตรี และต้องการให้ พล.อ.เปรม สุรยุทธิ์ และชาญชัย ลาออกจากองคมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณเรียกร้องให้มีการปฏิวัติโดยประชาชนอย่างเปิดเผย เพื่อให้มีชัยชนะต่อชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผู้ประท้วงเสื้อแดงนปช. ไปขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่พัทยา ความรุนแรงจากการปะทะกันได้เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มนปช.กับกลุ่มเสื้อน้ำเงิน ที่สนับสนุนรัฐบาล และมีรายงานว่ากลุ่มคนเสื้อน้ำเงินได้ขว้างระเบิดมายังกลุ่มคนเสื้อแดงผู้ประท้วงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้การประชุมอาเซียนซัมมิทเป็นอันต้องยกเลิกไป ต่อมาอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยาและชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้มีการรวมตัวกันมากกว่า 5 คนถูกห้ามไม่ให้นำเสนอข่าวที่ยุยงให้เกิดความวิตกกังวล
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เริ่มต้นขึ้นนั้น ผู้ประท้วงได้ยกระดับการชุมนุมสูงขึ้นในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงใช้รถยนต์, รถเมล์ และรถบรรทุกแก๊ส LPG จอดขวางตามถนนหลายจุดในใจกลางกรุงเทพฯ การต่อสู้ได้ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านรัฐบาล, กลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาล และประชาชนทั่วไป การเดินขบวนไปยังหน้าบ้านสี่เสาว์เทเวศน์ มีผู้สนับสนุนพันธมิตรคนหนึ่งขับรถเข้าชนกลุ่มนปช. ก่อนที่จะขับรถหนีไป อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อแดงยกระดับความตีงเครียดสูงขึ้นและกล่าวหาว่า ผู้ที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นศัตรูของประเทศไทย อภิสิทธิ์ยังได้ออกพระราชกำหนดมอบอำนาจให้รัฐบาลตรวจสอบการออกอากาศทางโทรทัศน์ก่อนที่จะมีเหตุการณ์นองเลือด พ.ต.ท. ทักษิณ เรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาแทรกแซงไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากัน
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน ทหารไทยใช้แก๊สน้ำตาและปืนกลไฟสลายการชุมนุมจากแยกดินแดง ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 70 คน ผู้ประท้วงที่สนับสนุนทหารถูกปืนยิงตาย 1 คน ในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลสั่งให้ระงับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ช่องดีสเตชัน และสมาชิกของกลุ่มนปช.ในเวลานั้น ถูกเผยแพร่ภาพที่มีการปะทะกันขึ้น และวิทยุชุมชนหลายแห่งถูกปิด ความรุนแรงจากการปะทะมีจำนวนมากในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำอีก 13 คน ต่อมาแกนนำนปช.เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 14 เมษายน ภายหลังจากที่ความรุนแรงได้สิ้นสุดลง หลังจากนั้นไม่นาน อภิสิทธิ์ได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และออกหมายจับแกนนำเพิ่มอีก 12 คน
รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลของผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบนี้จำนวนมากกว่า 120 คนเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มนปช.ทางกลุ่มนปช.ประกาศว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและถูกทหารนำศพไปโยนทิ้ง รัฐบาลได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ มีจำนวนกลุ่มนปช.ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คนที่ดินแดง ถึงแม้ว่ากองทัพจะออกมาปฏิเสธ อภิสิทธิ์มอบหมายให้สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ออกมายืนยันว่าผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลถูกเสื้อแดงยิงตาย 2 คนที่ดินแดง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประมาณมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รวมถึงรถเมล์ที่ถูกเผาจำนวน 31 คัน
ต่อมาอภิสิทธิ์ประกาศยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
เช็คช่วยชาติ
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี อภิสิทธิ์ตอบรับวิกฤตเศรษฐกิจนี้โดยการแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท (ประมาณ $75) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (ประมาณ $500)
--------------------------------------------------------------------------------
ผลงานที่สร้างชื่อ
อภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ พิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้นและเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูรที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่อภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า อภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง
นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้อภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2549
--------------------------------------------------------------------------------
รางวัลที่ได้รับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2535 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2536 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2538 : ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2540 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2541 : มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2542 : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
การได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2535 : 1 ใน 100 ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้, โดย World Economic Forum (องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองของโลก)
พ.ศ. 2540 : 1 ใน 6 นักการเมืองที่เป็นความหวังของเอเซีย, โดย นิตยสารไทม์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2540, “เสียงใหม่ๆ เพื่อเอเซียใหม่”
พ.ศ. 2542 : 1 ใน 20 ผู้นำสำหรับสหัสวรรษ ด้านการเมือง, โดย นิตยสารเอเซียวีค 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
--------------------------------------------------------------------------------
แหล่งที่มา
วิกิพีเดีย
--------------------------------------------------------------------------------